แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   เรื่อง การวัด                                                        
สาระการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่                                            เวลาเรียน 1 ชั่วโมง   ***************************************************************************************************************
1. สาระ
          สาระที่  2: การวัด
          สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
2. มาตรฐานการเรียนรู้
          มาตรฐาน ค 2.1: เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
          มาตรฐาน ค 2.2: แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
          มาตรฐาน ค. 6.1: มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย
                               ทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์
                               และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. สาระสำคัญ
          การหาสูตรการหาพื้นที่และการหาพื้นที่ของรูปเหลี่ยมต่าง ๆ สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆได้
4.ตัวชี้วัด
2.1 ม.2/1: เปรียบเทียบหน่วยความยาว หน่วยพื้นที่ ในระบบเดียวกัน และต่างระบบ และเลือกใช้หน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
2.1 2/1: ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาว และพื้นที่แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
          ค 6.1 ม.1-3/2: ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีใน                            การ แก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
        ม.1-3/3: ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
        ม.1-3/4:  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการ       นำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
        ม.1-3/6:  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
          ด้านความรู้ (K)
1)      ผู้เรียนสามารถนำความรู้การหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ได้อย่างถูกต้อง 
ด้านทักษะกระบวนการ(P)
1) ผู้เรียนใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
2) ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3) ผู้เรียนใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
4) ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          ด้านคุณลักษณะ(A)
1)      ผู้เรียนสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ
2)      ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
3)      ผู้เรียนมีความรอบคอบในการทำงาน
6.สาระการเรียนรู้
          การคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่ต่าง ๆ สามารถคำนวณได้ดังนี้
          พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส               =   ด้าน x ด้าน
          พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก             =   ด้านกว้าง x ด้านยาว
          พื้นที่สามเหลี่ยม                     =  
          พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน     =    ความยาวของฐาน x ความสูง
          พื้นที่ของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน     =     ความยาวของฐาน x ความสูง
หรือ     พื้นที่ของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน     =    
          พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู                =   
          พื้นที่สี่เหลี่ยมใดๆ                    =   
และสามารถนำความรู้ข้างต้นไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับพื้นที่ได้
7. กิจกรรม
กิจกรรมผู้สอน
กิจกรรมผู้เรียน
ขั้นนำ
ขั้นนำ
1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันทบทวนสูตรการหาพื้นที่รูปเหลี่ยมต่าง
1. ผู้เรียนร่วมกันทบทวนสูตรการหาพื้นที่
2. ผู้สอนยกตัวอย่างให้ผู้เรียนหาพื้นที่ของรูปเหลี่ยมต่าง ๆ โดยใช้สูตรมาช่วยในการคำนวณ
2. ผู้เรียนหาพื้นที่รูปเหลี่ยมต่าง ๆ ที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
ขั้นสอน
ขั้นสอน
1. ผู้สอนยกตัวอย่างการแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
1. ผู้เรียนรับฟังและทำความเข้าใจพร้อมทั้งจดบันทึก
2. ผู้สอนยกตัวอย่างการแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่ให้ผู้เรียนออกมาแสดงวิธีหน้าชั้นเรียน
2. ผู้เรียนออกมาแสดงวิธีหน้าชั้นเรียนการแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
ขั้นฝึกทักษะ
ขั้นฝึกทักษะ
1. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
1. ผู้เรียนทำใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
ขั้นสรุป
ขั้นสรุป
1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันเฉลยใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
1. ผู้เรียนร่วมกันเฉลยใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
2.หากพบข้อผิดพลาดผู้สอนควรให้คำแนะนำ
2. ผู้เรียนรับฟังและทำความเข้าใจ
3. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสูตรในการหาพื้นที่รูปเหลี่ยมต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมได้
3. ผู้เรียนร่วมกันสรุปสูตรในการหาพื้นที่รูปเหลี่ยมต่างๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมได้
         
 8. สื่อ อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้
สื่อ
อุปกรณ์
แหล่งเรียนรู้
1. ใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
1. กระดาน ชอล์ก
2. www.scribd.com
3. ห้องสมุด


9. การวัดผลและประเมินผล
ด้าน
สิ่งที่วัด
การวัดและประเมินผล
วิธีวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การวัด
K
1)      ผู้เรียนสามารถหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยมได้อย่างถูกต้อง
การทดสอบ
แบบทดสอบ/
ใบงานที่ 7 การแก้ปัญหาการคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่
ร้อยละ 70
P
1) ผู้เรียนใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
2) ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3) ผู้เรียนใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
4) ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การสังเกต/การตรวจใบงาน
บันทึกหลังการสอน/แบบบันทึกการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
A
1)    นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ
2)    นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
3)    ผู้เรียนมีความรอบคอบในการทำงาน
การสังเกต/การตรวจใบงาน
บันทึกหลังการสอน/แบบบันทึกการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

10. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
          10.1 ผลการจัดการเรียนรู้..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
          10.2 ปัญหาที่เกิดขึ้น............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
         
          10.3 แนวทางแก้ปัญหา และข้อเสนอแนะ..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                      ลงชื่อ                                        ผู้สอน
                                                                            (......................................................)        

       ......../..................../...........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น